วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555


                                                 

                                      ความเชื่อและพิธีกรรมในวรรณคดีไทย

พระอภัยมณี
พระอภัยมณี 

เรื่องราวเกี่ยวข้องกับภูติผี เทวดา และความเชื่อตามคำสอนทางศาสนามีความผูกพันทางด้านจิตใจกับชาวบ้านเป็นอย่างมาก และมีส่วนส่งเสริมให้กระทำความดีสร้างความสงบสุข ความอบอุ่นใจ  (เพ็ญศรี จันทร์ดวง, 2542, หน้า 216)  ดังนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี กล่าวถึงการกระทำความดีและผลที่จะได้รับ ดังนี้
อย่าลุ่มหลงจงอุตส่าห์รักษาศีล           ให้เพิ่มภิญโญไปดังใจหมาย
อย่าฆ่าสัตว์ตัดชีวิตคิดอุบาย                         จะจำตายตกนรกอเวจี
พี่แบ่งบุญบรรพชาสถาผล                             ส่วนกุศลให้สุดามารศรี
กลับไปอยู่คูหาในวารี                                    อย่าได้มีห่วงใยอาลัยลาญ
ในด้านสภาพสังคมที่มีพื้นฐานความเชื่อภูตผี เทวดา สิ่งเร้นลับเป็นทุนเดิม รวมทั้งการอบรมให้เด็กต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ จะมีส่วนส่งเสริมให้เกิดการสืบทอดแนวความคิดและการปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานของสังคม เป็นเรื่องของการสร้างความมั่นใจ และอบอุ่นใจในการดำรงชีวิต เช่น
ให้เคลิ้มเคล้นเห็นปีศาจประหวาดหวั่น        อินทรีย์สั่นเศียรพองสยองขน
ท่านบิดาหาผู้ที่รู้มนต์                                         มาหลายคนเขาก็ว่าต้องอารักษ์
หลงละเมอเพ้อพูดกับผีสาง                               ที่เคียงข้างคนผู้ไม่รู้จัก
แต่หมอเฒ่าเป่าปัดชะงัดนัก                               ทั้งเซ่นวักหลายวันค่อยบรรเทา
ให้คนทรงลงผีว่าพี่เจ็บ                                       ว่าเพราะเก็บดอกไม้ที่ท้ายเขา
ไม่งอนง้อขอสู่ทำดูเบา                                       ท่านปู่เจ้าคุ้มแค้นจึงแทนทด
ครั้นตาหมอขอโทษก็โปรดให้                             ที่จริงใจที่ก็รู้อยู่ว่าปด
แต่ชาวบ้านท่านถือข้างท้าวมด                            จึงสู้อดนิ่งไว้ในอุรา
(นิราศเมืองแกลง)